Article

บทความ

ตรวจดาวน์ซินโดรมแล้วได้ผล "ความเสี่ยงสูง" ต้องเจาะน้ำคร่ำ อันตรายไหม?


 

การตรวจ NIPT เป็นการตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงความผิดปกติของโครโมโซม หากผลตรวจออกมาว่า มี “ความเสี่ยงสูง” ก็จำเป็นต้องมีการตรวจวินิจฉัย ซึ่งวิธีตรวจก็คือการ “เจาะน้ำคร่ำ” นั่นเองค่ะ ด้วยเหตุนี้ ก็อาจทำให้คุณแม่หลายท่านมีความกังวลใจเกี่ยวกับการเจาะน้ำคร่ำค่ะ

 

การเจาะน้ำคร่ำเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยนั้น เป็นวิธีการที่มีความจำเป็นต้องตรวจเมื่อได้ผลของการตรวจคัดกรองออกมาเป็นความเสี่ยงสูงค่ะ โดยการเจาะน้ำคร่ำนี้ควรตรวจเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์อยู่ที่ 15-20 สัปดาห์ ซึ่งพบว่าภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้จากหัตถการของการเจาะน้ำคร่ำเช่น การแท้งบุตร มีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 0.1-0.3% ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ถุงน้ำคร่ำอักเสบติดเชื้อ ถุงน้ำคร่ำรั่ว มีเลือดออกทางช่องคลอด พบได้ประมาณ 1-2% ด้วยเหตุนี้ การตรวจวินิจฉัยนี้ จึงจำเป็นต้องทำโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และคุณแม่ก็จำเป็นต้องอยู่ในขั้นตอนการดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกันค่ะ 

 

เราจะเห็นได้ว่าการเจาะน้ำคร่ำนั้นก็มีความเสี่ยงที่สามารถรบกวนการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์หรือสามารถนำไปสู่การแท้งได้ ด้วยเหตุนี้ จึงแนะนำคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ตรวจคัดกรอง เช่น NIPT เพื่อทราบผลเสี่ยงความผิดปกติโครโมโซมของลูกน้อยในครรภ์ก่อน แล้วเมื่อผลออกมาเป็นผลลบและผลอัลตราซาวด์ปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยค่ะ

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

LINE ID: @nggthailand

โทร: 061-391-8999

Website: https://www.nggthailand.com

 

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

 

LINE
FACEBOOK
TWITTER