Call now ( Tel :
061-391-8999
)
TH
|
EN
หน้าแรก
รู้จักเรา
สำหรับผู้รับบริการ
บริการ
บทความ
ถามตอบ
สถานที่ให้บริการ
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
บริการของเรา
ข่าวสารและโปรโมชั่น
ติดต่อเรา
หน้าแรก
รู้จักเรา
สำหรับผู้รับบริการ
บริการ
บทความ
ถามตอบ
สถานที่ให้บริการ
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
บริการของเรา
ข่าวสารและโปรโมชั่น
ติดต่อเรา
Call now ( Tel :
061-391-8999
)
TH
|
EN
Article
บทความ
หน้าแรก
สำหรับผู้รับบริการ
บทความ
5 เรื่อง ที่ต้องเตรียมตัว เมื่อคุณแม่วางแผนตั้งครรภ์ทารกที่มีภาวะ "ดาวน์ซินโดรม"
5 เรื่อง ที่ต้องเตรียมตัว เมื่อคุณแม่วางแผนตั้งครรภ์ทารกที่มีภาวะ "ดาวน์ซินโดรม"
หลังจากทราบผลการตรวจ NIPT หรือการตรวจคัดกรองความเสี่ยงหาความผิดปกติของโครโมโซมแล้ว เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ทารกที่มีภาวะดาวน์ซินโดรม และเลือกวางแผนตั้งครรภ์ต่อไป ก็มีสิ่งที่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมอยู่หลายอย่างค่ะ โดยการเตรียมความพร้อมนี้เป็นสิ่งที่คุณแม่และคุณพ่อสามารถสร้างไปได้พร้อมๆ กัน
1. เตรียมการดูแลสุขภาพ
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ทารกที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมนั้นจะมีสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรง และมีความเสี่ยงกับความผิดปกติของอวัยวะของร่างกาย เช่น การมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ ต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่คุณพ่อและคุณแม่จำเป็นต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาสุขภาพของเด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญค่ะ
2. เตรียมความพร้อมด้านการเงิน
การวางแผนมีบุตรทั่วไปนั้น ควรมีการวางแผนด้านการเงินประกอบด้วยอยู่แล้ว แต่สำหรับการเลี้ยงดูเด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมนี้ คุณพ่อคุณแม่เองจำเป็นต้องมีการวางแผนด้านการเงินสำรองเอาไว้หลายแผน เพราะอาจเกิดเหตุไม่คาดคิด หรือปัญหาที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้าในระหว่างการเลี้ยงดูเด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมได้เสมอ
3. เตรียมความพร้อมด้านจิตใจ
เพราะเด็กๆที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมอาจมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป อีกทั้งยังมีภาวะความเสี่ยงต่างๆ ของร่างกาย รวมไปถึงปัญหาทางด้าน จิตใจ อารมณ์ ที่อาจแปรปรวนง่าย คุณพ่อคุณแม่เองจำเป็นต้องทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมด้านจิตใจให้กับตนเองและพร้อมที่จะดูแลจิตใจของเด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมด้วยเช่นกันค่ะ
4. เตรียมความพร้อมด้านสังคม
เด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมนั้นจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป ซึ่งอาจดูเป็นเรื่องที่ยากสำหรับการเข้าสังคม โดยจำเป็นต้องบอกกล่าวคนรอบข้างให้เข้าใจถึงสภาวะของเด็กที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมในการเลี้ยงดูของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการอธิบายและใช้ความใจเย็นของคุณพ่อคุณแม่เพื่อสร้างความเข้าใจนั่นเองค่ะ
5. เตรียมความพร้อมวางแผนชีวิตระยะยาวให้ลูก
เด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมนั้นอาจมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกับเด็กๆ ทั่วไปเล็กน้อย โดยคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสถานศึกษา การวางแผนการทำงาน การวางแผนทางด้านการเงิน และอื่นๆ ให้กับลูกเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมร่วมกันและให้การแนะนำลูกด้วยเช่นกันค่ะ
และ NGG Thailand เราเชื่อว่าการเตรียมความพร้อมเพื่อวางแผนก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่รากฐานที่ดีของการสร้างครอบครัว โดยการตรวจ Qualifi และ Qualifi Premium 24 ของ NGG Thailand ที่เป็นการตรวจ NIPT นี้เป็นการช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถวางแผนการตั้งครรภ์และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ล่วงหน้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
LINE ID: @nggthailand
โทร: 061-391-8999
Website: https://www.nggthailand.com
#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS
บทความอื่นๆ
ความแม่นยำของเทคโนโลยี PGTSeq-A
อัตราการได้รับตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติ และ ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ จากการตรวจ PGTSeq-A
ทำไม PGTSeq-A จึงมีความแม่นยำสูงกว่าการตรวจคัดกรองโครโมโซมให้กับตัวอ่อนก่อนย้ายสู่โพรงมดลูกประเภทอื่น