Article

บทความ

เจาะน้ำคร่ำ มีโอกาสแท้งจริงไหม? แล้วเสี่ยงแค่ไหน?


อย่างที่เราทราบกันว่าการเจาะน้ำคร่ำ สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแท้งได้ แต่คุณแม่เคยสงสัยไหมคะว่า หากการเจาะน้ำคร่ำนั้นทำให้เกิดการแท้ง แล้วโอกาสเกิดการแท้งนั้นมีมากแค่ไหน? สาเหตุนั้นมาจากอะไร? หากต้องเจาะน้ำคร่ำ มีวิธีไหนที่จะป้องกันการแท้งได้บ้าง? เรามาหากคำตอบกันดีกว่าค่ะ

การเจาะน้ำคร่ำมีความเสี่ยงต่อการแท้งมากแค่ไหน?

การเจาะน้ำคร่ำสามารถทำได้ในช่วงอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแท้งระหว่างการตั้งครรภ์ได้เพียงเล็กน้อย ซึ่งมีโอกาสที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 1 ใน 900 คน อาจแท้งได้ค่ะ แต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งมากขึ้นหากมีการเจาะน้ำคร่ำก่อนช่วงอายุครรภ์ 15 สัปดาห์

การเจาะน้ำคร่ำทำให้เกิดการแท้งได้อย่างไร?

สาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้ง อาจเกิดจากการตั้งครรภ์ของคุณแม่เกิดการติดเชื้อ มีเลือดออก หรือถุงน้ำคร่ำรั่ว ซึ่งภาวะเหล่านำมาสู่การแท้งค่ะ

โดยส่วนใหญ่แล้วคุณแม่ที่เข้ารับการเจาะน้ำคร่ำแล้วแท้งจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเจาะน้ำคร่ำไปแล้วภายใน 3 วัน แต่ก็มีบางกรณีที่สามารถแท้งได้หลังเจาะน้ำคร่ำไปแล้ว 2 สัปดาห์ และยังไม่มีหลักฐานการศึกษาที่บอกได้ว่ามีวิธีใดที่สามารถลดความเสี่ยงการแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำได้ค่ะ

ในปัจจุบันคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านสามารถทราบความเสี่ยงความผิดปกติโครโมโซมได้โดยไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำเสมอไป โดยสามารถตรวจ NIPT เช่น Qualifi และ Qualifi Premium 24 ซึ่งทำให้ทราบความเสี่ยงความผิดปกติโครโมโซม และหากได้ผลตรวจเป็นความเสี่ยงต่ำก็ไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำค่ะ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
LINE ID: @nggthailand
โทร: 061-391-8999
Website: https://www.nggthailand.com

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

LINE
FACEBOOK
TWITTER