|
การเจาะน้ำคร่ำ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายภาวะ หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่เกิดการเจาะน้ำคร่ำก็คือ ภาวะเท้าปุก หรือ Club foot ค่ะ
เท้าปุก หรือ Club foot คืออะไร?
เป็นความผิดปกติของรูปเท้า โดยทารกจะมีเท้าลักษณะเท้าโค้งงอผิดรูป หลังเท้าพลิกลงพื้น และส้นเท้าบิดเข้าด้านใน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ความพิการและการใช้ชีวิตที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษค่ะ
เท้าปุก หรือ Club foot เกิดขึ้นได้ยังไง?
ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคเท้าปุกได้อย่างแน่ชัด ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน เช่น โรคทางพันธุกรรม ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบประสาท ปัจจัยจากมดลูก เช่น น้ำคร่ำไม่เพียงพอ และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมขณะตั้งครรภ์ เช่น มีการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ แม่สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบว่า คุณแม่ที่เข้ารับการเจาะน้ำคร่ำก่อนอายุครรภ์ 15 สัปดาห์ มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกในครรภ์มีภาวะเท้าปุกได้
ฉะนั้นหากคุณแม่จำเป็นต้องเข้ารับการเจาะน้ำคร่ำ มักจะได้รับคำแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 15 สัปดาห์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ทารกในครรภ์เกิดภาวะเท้าปุก และการแท้งค่ะ
แต่ในปัจจุบันนี้ คุณแม่ที่วางแผนการตั้งครรภ์และต้องการตรวจหาความผิดปกติโครโมโซมให้กับทารกในครรภ์ สามารถเลือกตรวจคัดกรอง NIPT อย่าง Qualifi และ Qualifi Premium 24 เพื่อทราบความผิดปกติโครโมโซมได้ทุกคู่รวมถึงเพศของลูก โดยสามารถหลีกเลี่ยงการเจาะน้ำคร่ำโดยไม่จำเป็นได้ในกรณีที่ได้รับผลตรวจออกมาเป็นความเสี่ยงต่ำ และไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ค่ะ
ที่มาข้อมูล: Farrell SA, Summers AM, Dallaire L, et alClub foot, an adverse outcome of early amniocentesis: disruption or deformation?Journal of Medical Genetics 1999;36:843-846.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
LINE ID: @nggthailand
โทร: 061-391-8999
Website: https://www.nggthailand.com
#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS