Article

บทความ

ความผิดปกติโครโมโซมที่พบ "ไม่บ่อย" ทำไมถ้าจะตั้งครรภ์ "ไม่ควร" มองข้าม?

 

ดาวน์ซินโดรมเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทารกของคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่าน อีกทั้งยังเป็นความผิดปกติโครโมโซมที่พบได้บ่อย แต่คุณแม่รู้ไหมค่ะว่า ดาวซินโดรมเป็น 1 ในความผิดปกติของโครโมโซมเท่านั้น มนุษย์เรามีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ วันนี้เราจึงขอชวนคุณแม่ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์มารู้จักว่า ทำไมควรมีการวางแผนการเข้ารับการตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงความผิดปกติโครโมโซมคู่อื่น ๆ ที่ไม่ได้พบบ่อย แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ดังนี้ค่ะ

 

1. ความผิดปกติโครโมโซมที่พบไม่บ่อย ก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกรุนแรงได้

ทารกที่มีความผิดปกติโครโมโซม สามารถส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการด้านร่างกายของทารกที่รุนแรงได้ เช่น การมีความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย การมีร่างกายและใบหน้าผิดรูป การมีอวัยวะผิดรูป นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติด้านอื่นที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของทารกเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการด้านสมอง อารมณ์ และการเรียนรู้ได้ค่ะ

 

2. คุณแม่หลายคนมองข้าม ทำให้ไม่สามารถทราบได้ก่อนจนกระทั่งทารกคลอดหรือผ่านช่วงวัยทารกไปแล้ว

การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่พบไม่บ่อย อาจไม่ได้สังเกตความผิดปกติใดๆที่เกิดขึ้นในระหว่างช่วงที่ตนเองกำลังตั้งครรภ์ และอาจไม่ทราบเลยว่า ทารกในครรภ์กำลังมีความผิดปกติ เนื่องจากทารกในครรภ์อาจไม่ได้แสดงภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากรูปร่างในช่วงที่อยู่ในครรภ์ให้เห็นได้ด้วยการอัลตราซาวด์ แต่หลังจากที่ทารกคลอดออกมาหรือหลังจากที่ผ่านช่วงวัยทารกไปแล้ว อาจเป็นช่วงที่มีการแสดงออกด้านร่างกายและการพัฒนาการที่ล่าช้าได้ค่ะ 

 

3. การตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติโครโมโซมที่พบได้ยากทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ได้

การที่คุณแม่ได้ทราบว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติโครโมโซมตั้งแต่ในช่วงที่ตนเองตั้งครรภ์ จะสามารถวางแผนการดูแลครรภ์ได้อย่างเหมาะสม และสามารถเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การแท้ง การคลอดก่อนกำหนด หรือ ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เป็นต้น แต่หากคุณแม่ไม่ได้ทราบก่อนหน้านั้น อาจทำให้ตนเองไม่สามารถพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์จากภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี 

 

4. ไม่ค่อยมีการพูดถึงการตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติโครโมโซมที่พบได้ยาก

ความผิดปกติโครโมโซมที่เรามักได้ยิน เพราะเป็นโครโมโซมคู่ที่พูดถึงกันบ่อยนั้นก็คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 18 และ 13 ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า ดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม และ พาทัวซินโดรม แต่ความจริงแล้ว ความผิดปกติโครโมโซมสามารถเกิดขึ้นได้กับโครโมโซมทั้ง 23 คู่ จึงทำให้คุณแม่หลายคนมองข้ามความผิดปกติโครโมโซมคู่อื่นเหล่านี้ แต่ในปัจจุบันเราก็ยังพบได้ว่ามีเด็กทารกจำนวนมากที่คลอดออกมาพร้อมกับความผิดปกติโครโมโซมที่นอกเหนือจาก 3 คู่ดังกล่าวมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ในปัจจุบัน คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรอง โดยสามารถทราบความเสี่ยงความผิดปกติโครโมโซมของทารกในครรภ์ทั้งหมด 23 คู่ ตั้งแต่ในช่วงที่ตนเองตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์แรก ผ่านการตรวจ Qualifi Premium24 ที่ใช้เพียงตัวอย่างเลือดของคุณแม่ 7-10 cc. และทราบผลภายใน 7 วันค่ะ เราจึงอยากสนับสนุนให้คุณแม่เข้ารับการตรวความผิดปกติโครโมโซมของลูกในครรภ์ตั้งแต่ที่อายุครรภ์ไม่มาก เพื่อที่จะได้วางแผนการดูแลครรภ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสมค่ะ

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

LINE ID: @nggthailand

โทร: 061-391-8999

Website: https://www.nggthailand.com

 

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

LINE
FACEBOOK
TWITTER