Article

บทความ

ตรวจ NIPT กับ 5 ความเข้าใจผิดของคุณแม่หลายท่าน


การตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นวิธีการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมที่ปลอดภัยและแม่นยำ ถึงแม้ว่าจะเป็นวิธีการที่มีประโยชน์มาก ก็ยังมีความเข้าใจผิดบางประการที่คุณแม่หลายท่านอาจมีเกี่ยวกับการตรวจนี้ เรามาดูกันว่าความเข้าใจผิดเหล่านี้มีอะไรบ้างค่ะ

1. ความเข้าใจผิด: การตรวจ NIPT สามารถตรวจพบความผิดปกติทุกชนิดได้

ความจริง: แม้ว่าการตรวจ NIPT จะมีความแม่นยำสูงในการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมที่พบได้บ่อย เช่น ดาวน์ซินโดรม (Trisomy 21) เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Trisomy 18) และพาทัวซินโดรม (Trisomy 13) รวมถึงโครโมโซมร่างกายและโครโมโซมเพศ แต่ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติทางพันธุกรรมทุกชนิดได้ เช่น ธาลัสซีเมีย ฉะนั้นหากคุณแม่ต้องการตรวจหาความผิดปกติที่นอกเหนือจากความผิดปกติโครโมโซม จึงควรเข้ารับการตรวจอื่นเพิ่มเติมค่ะ

2. ความเข้าใจผิด: การตรวจ NIPT มีความเสี่ยงต่อการแท้ง

ความจริง: NIPT เป็นการตรวจที่ไม่เป็นรบกวนการเจริญเติบโตของทารก เนื่องจากใช้เพียงการเก็บตัวอย่างเลือดจากคุณแม่ 7-10 cc. ซึ่งไม่มีความเสี่ยงต่อการแท้งหรือการพัฒนาการของทารกในครรภ์ ต่างจากการตรวจ เช่น การเจาะน้ำคร่ำที่มีความเสี่ยงเล็กน้อยในการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเป็นสาเหตุของการแท้งค่ะ

3. ความเข้าใจผิด: การตรวจ NIPT เหมาะสมกับคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูง

ความจริง: แม้ว่าการตรวจ NIPT จะถูกแนะนำสำหรับคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อายุครรภ์มากกว่า 35 ปี หรือมีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติของโครโมโซมมาก่อน แต่ก็สามารถใช้ได้กับคุณแม่ทุกคนที่ต้องการความมั่นใจในสุขภาพของลูกในครรภ์ แม้ว่าจะไม่มีปัจจัยเสี่ยงเฉพาะใด ๆ ก็ตาม และคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านก็ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติ เนื่องจากความผิดปกติโครโมโซมสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกท่านค่ะ

4. ความเข้าใจผิด: ผลการตรวจ NIPT ที่เป็นความเสี่ยงต่ำหมายความว่าทารกไม่มีความผิดปกติใด ๆ เลย

ความจริง: ผลการตรวจ NIPT ที่เป็นความเสี่ยงต่ำหมายความว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะพบความผิดปกติของโครโมโซมที่ตรวจคัดกรอง แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือสุขภาพอื่น ๆ เลย นอกจากนี้ยังมีโรคทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถตรวจพบได้ด้วย NIPT ดังนั้นคุณแม่ควรพิจารณาและปรึกษาแพทย์เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

5. ความเข้าใจผิด: ผลการตรวจ NIPT ที่เป็นความเสี่ยงสูงหมายความว่าทารกมีความผิดปกติแน่นอน

ความจริง: ผลการตรวจ NIPT ที่เป็นความเสี่ยง หมายความว่าทารกมีโอกาสสูงที่จะเกิดความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ตรวจพบ แต่ไม่ได้หมายความว่าทารกจะมีความผิดปกติแน่นอน ฉะนั้นหากคุณแม่ได้รับผลการตรวจออกมาเป็นความเสี่ยงสูง จะได้รับการแนะนำให้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การเจาะน้ำคร่ำ เพื่อยืนยันผลการตรวจ NIPT ค่ะ

การตรวจ NIPT เป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงและปลอดภัยเพื่อใช้ตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซม แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อจำกัดบางประการและความเข้าใจผิดจากคุณแม่หลายท่านที่ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อจำกัดและความสามารถของการตรวจจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้คุณแม่สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและมั่นใจในผลตรวจที่ตนเองได้รับค่ะ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
LINE ID: @nggthailand
โทร: 061-391-8999
Website: https://www.nggthailand.com

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

LINE
FACEBOOK
TWITTER