Article

บทความ

อัตราการได้รับตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติ และ ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ จากการตรวจ PGTSeq-A


เมื่อพูดถึงการตั้งครรภ์และการสร้างครอบครัว ความสมบูรณ์ของตัวอ่อนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ หนึ่งในปัญหาที่สามารถพบได้คือภาวะจำนวนโครโมโซมผิดปกติ หรือที่เรียกว่า Aneuploidy ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการแท้งบุตร และการให้กำเนิดทารกที่มีความผิดปกติทางร่างกายและสติปัญญา แต่ในทางตรงกันข้าม หากตัวอ่อนมีโครโมโซมครบถ้วนสมบูรณ์ หรือที่เรียกว่า Euploidy จะทำให้ตัวอ่อนมีโอกาสประสบความสำเร็จในการฝังตัวในมดลูก และพัฒนาเป็นทารกได้มากขึ้น

 

Aneuploidy คือ ภาวะโครโมโซมผิดปกติ

คือภาวะที่เซลล์มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ อาจเป็นความผิดปกติในลักษณะที่มีจำนวนขาดหรือเกิน ภาวะนี้มักเป็นสาเหตุของการแท้งบุตร หรือการให้กำเนิดทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด เช่น ดาวน์ซินโดรม ที่เกิดจากการมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของเด็ก

 

Euploidy คือ ภาวะโครโมโซมปกติ

คือภาวะที่เซลล์มีจำนวนโครโมโซมครบ โดยมนุษย์เรามีโครโมโซม 46 แท่ง (23 คู่) ซึ่งมาจากพ่อและแม่อย่างละชุด ภาวะนี้บ่งบอกว่าตัวอ่อนมีความสมบูรณ์ทางพันธุกรรม และมีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นทารกได้อย่างปกติ

 

จากกราฟที่แสดงผลการตรวจคัดกรองตัวอ่อนผ่านเทคโนโลยี PGTSeq-A เราจะเห็นความเชื่อมโยงระหว่างอายุของคุณแม่กับอัตราการได้รับตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติ (Aneuploid) และตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ (Euploid) ยิ่งคุณแม่มีอายุมากขึ้น โอกาสที่จะได้รับตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติก็ยิ่งสูงขึ้น โดยแบ่งตามอายุของคุณแม่ในช่วงอายุต่าง ๆ ตั้งแต่ไข่บริจาค การที่คุณแม่มีอายุ 35 จนถึงอายุมากกว่า 42 ปี ดังนั้น การตรวจคัดกรอง PGTSeq-A จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่สามารถเพิ่มโอกาสในการได้รับตัวอ่อนที่มีคุณภาพ และช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะมีบุตรยากได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

 

• สำหรับคุณแม่ที่ใช้ไข่บริจาค: มีอัตราการได้รับตัวอ่อนที่โครโมโซมปกติสูงถึง 85% ในขณะที่ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติอยู่ที่เพียง 15%

• คุณแม่อายุ 35-37 ปี: มีอัตราการได้รับตัวอ่อนโครโมโซมปกติ 71% และตัวอ่อนที่โครโมโซมผิดปกติ 29%

• คุณแม่อายุ 38-40 ปี: มีการลดลงของอัตราการได้รับตัวอ่อนที่โครโมโซมปกติอยู่ที่ประมาณ 52% และตัวอ่อนที่โครโมโซมผิดปกติสูงขึ้นเป็น 48%

• คุณแม่อายุ 41-42 ปี: มีโอกาสที่ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติเพิ่มขึ้นเป็น 68% ในขณะที่ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติอยู่ที่ 32%

• คุณแม่อายุมากกว่า 42 ปี: มีอัตราการได้รับตัวอ่อนโครโมโซมผิดปกติสูงถึง 84% และตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ 16%

 

จากข้อมูลในกราฟนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่ออายุของคุณแม่เพิ่มขึ้น อัตราการได้รับตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติก็จะสูงขึ้น และตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติจะลดลง ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ที่สำเร็จลดลงไปตามอายุ

 

ซึ่งการตรวจคัดกรอง PGTSeq-A สามารถตรวจคัดกรองตัวอ่อนที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ที่มีภาวะมีบุตรยากและต้องการเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ เนื่องจากสามารถตรวจคัดกรองตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติได้อย่างแม่นยำ ทำให้เพิ่มโอกาสในการรับตัวอ่อนที่มีคุณภาพสูงและมีโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์มากขึ้นค่ะ

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

LINE ID: @nggthailand

โทร: 061-391-8999

Website: https://www.nggthailand.com

 

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

 

LINE
FACEBOOK
TWITTER