Article

บทความ

เปรียบเทียบ "อัตราการตรวจพบ" และ "อัตราการเกิดผลลวง" ของการตรวจคัดกรอง 'ดาวน์ซินโดรม' ทั้ง 4 วิธี

คุณแม่รู้ไหมคะว่า ในการตรวจคัดกรองนั้น หาก "อัตราการตรวจพบสูง" เท่าไหร่ โอกาสในการพบภาวะดาวน์ซินโดรมก็ยิ่งมาก แต่หาก "อัตราการตรวจพบต่ำ" ก็มีโอกาสที่ผลการตรวจจะรายงานผลออกมาไม่พบ

 

สำหรับ "อัตราการเกิดผลลวง" นั้นคือโอกาสที่ผลตรวจจะออกมาบิดเบือนจากความเป็นจริง ซึ่งมีทั้งรูปแบบ ผลบวกลวง (False Positive) หรือ การรายงานว่าทารกมีความเสี่ยงของภาวะดาวน์ซินโดรมสูง แต่ที่จริงแล้วทารกไม่ได้มีความเสี่ยงสูง และ ผลลบลวง (False Negative) การรายงานว่าทารกมีไม่มีความเสี่ยงของภาวะดาวน์ซินโดรมสูง แต่ที่จริงแล้วทารกมีความเสี่ยงสูงค่ะ ซึ่งหากอัตราการเกิดผลลวงสูงเท่าไหร่ ก็มีโอกาสที่ผลการตรวจจะรายงานออกมาผิดพลาดได้ค่ะ

 

ซึ่งหากเราดูจากการเปรียบเทียบบนตารางแล้ว เราจะเห็นว่าการตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงภาวะดาวน์ซินโดรมอย่าง NIPT นั้นมี "อัตราการตรวจพบสูง" และ "อัตราการเกิดผลลวงต่ำ" กว่าวิธีการตรวจคัดกรองอื่น การตรวจด้วยวิธีนี้จึงเป็นที่ได้รับการยอมรับและมีความแม่นยำในการตรวจที่สูงกว่าวิธีอื่นค่ะ 

 

คุณแม่ที่กำลังมองหาวิธีการตรวจคัดกรองหาภาวะดาวน์ซินโดรมจึงสามารถเลือกการตรวจด้วย NIPT ได้ เพราะนอกจากจะเป็นวิธีที่ความแม่นยำสูง สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไปแล้ว ก็ไม่มีความเสี่ยงต่อการแท้งทารกในครรภ์เหมือนการเจาะน้ำคร่ำหรือการเก็บชิ้นรก คุณแม่จึงมั่นใจกับความปลอดภัยของลูกน้อยและสามารถวางแผนการตั้งครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ค่ะ

 

โดยที่ NGG Thailand เรามีการบริการ Qualifi และ Qualifi Premium 24 ซึ่งเป็นการตรวจ NIPT ที่มีความแม่นยำในการตรวจหาภาวะดาวน์ซินโดรมสูงกว่า 99.90% พร้อมที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์ (Genetic Counsellor) ยินดีให้คำปรึกษาแก่คุณแม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการตรวจค่ะ

 

ที่มาข้อมูล: ACOG Committee on Practice, Bulletins (Jan 2007). "ACOG Practice Bulletin No. 77: screening for fetal chromosomal abnormalities". Obstetrics and Gynecology. 109 (1): 217–27.

 

Mersy E, Smits LJ, van Winden LA, de Die-Smulders CE, Paulussen AD, Macville MV, Coumans AB, Frints SG (Jul–Aug 2013). "Noninvasive detection of fetal trisomy 21: systematic review and report of quality and outcomes of diagnostic accuracy studies performed between 1997 and 2012". Human Reproduction Update. 19 (4): 318–29. 

 

Bianchi DW, Parker RL, Wentworth J, Madankumar R, Saffer C, Das AF, Craig JA, Chudova DI, Devers PL, Jones KW, Oliver K, Rava RP, Sehnert AJ (Feb 27, 2014). "DNA sequencing versus standard prenatal aneuploidy screening". The New England Journal of Medicine. 370 (9): 799–808. 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

LINE ID: @nggthailand

โทร: 061-391-8999

Website: https://www.nggthailand.com

 

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

 

LINE
FACEBOOK
TWITTER