|
การตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal test) เป็นหนึ่งในการตรวจคัดกรองเพื่อหาความเสี่ยงความผิดปกติของโครโมโซมหรือที่เราเรียกว่า Prenatal screening test นั่นเองค่ะ
ซึ่งการตรวจคัดกรองสามารถรายงานผลออกมาเป็นผลบวกและผลลบ หากได้ผลการตรวจออกมาเป็นผลบวกจะต้องมีการยืนยันความผิดปกตินั้นด้วยการตรวจวินิจฉัยหรือที่เรียกว่า Diagnostic test อีกครั้ง โดยมีทั้งการตรวจน้ำคร่ำ (Amniocentesis) หรือการเก็บตัวอย่างชิ้นรกเพื่อนำไปตรวจวินิจฉัย (Chorionic villus sampling) ค่ะ
คุณแม่หลายคนอาจเกิดคำถามว่าแล้วทำไมไม่ตรวจวินิจฉัยทีเดียวไปเลย เพราะไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ?
สำหรับการตรวจวินิจฉัยนั้น เป็นการตรวจที่ใช้ยืนยันผลความผิดปกติของโครโมโซม ยกตัวอย่างเช่น การตรวจน้ำคร่ำ จะต้องมีการเจาะถุงน้ำคร่ำเข้าไปเพื่อเก็บตัวอย่าง โดยการตรวจประเภทนี้ มีความเสี่ยงในการรบกวนการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ จึงมีโอกาสทำให้คุณแม่แท้งบุตรได้ หรืออาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ค่ะ
หากเปรียบเทียบความแม่นยำของการตรวจคัดกรองและการตรวจวินิจฉัยแล้ว ถือว่าการตรวจ NIPT มีความแม่นยำที่สูงมากกว่าการตรวจคัดกรองประเภทอื่น ๆ ฉะนั้นหลังจากที่คุณแม่เข้ารับการตรวจ NIPT แล้วได้ผลเป็นลบก็ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยเพื่อหาความผิดปกติโครโมโซมของทารกในครรภ์ เป็นการตรวจที่ช่วยให้คุณแม่มั่นใจกับผลการตรวจที่มีความแม่นยำได้
สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้เลือกตรวจ NIPT แต่เลือกตรวจด้วยวิธีการวินิจฉัย อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้ แม้ว่าผลการตรวจที่ได้จะเป็นตรวจพบหรือไม่ก็ตาม อีกทั้งการตรวจ NIPT นั้นสามารถทำการตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อย แต่การตรวจวินิจฉัยจำเป็นต้องรอให้คุณแม่มีอายุครรภ์ 17 สัปดาห์ขึ้นไปเท่านั้นค่ะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
LINE ID: @nggthailand
โทร: 061-391-8999
Website: https://www.nggthailand.com
#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS