|
การตรวจความผิดปกติโครโมโซมของทารกในครรภ์ที่คุณแม่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นก็คือ การเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความเสี่ยงหลายอย่าง แต่ทำไมการตรวจนี้ยังเป็นวิธีที่ใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ วันนี้เรามาหาคำตอบกันค่ะ
การเจาะน้ำคร่ำเป็นหนึ่งในการตรวจวินิจฉัยที่คุณหมอแนะนำในกรณีที่พบว่า ทารกมีความเสี่ยงความผิดปกติของโครโมโซม หรือต้องการวินิจฉัยความผิดปกติให้กับทารกในครรภ์ โดยจะทำในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์ เป็นการเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำที่มีส่วนประกอบของเซลล์จากทารกที่สามารถนำไปใช้ตรวจหาความผิดปกติได้ เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม และ ความผิดปกติของยีน เป็นต้น
การเจาะน้ำคร่ำเป็นหัตถการที่ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น โดยแพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านหน้าท้องของคุณแม่ เข้าไปในถุงน้ำคร่ำของทารก เพื่อเก็บน้ำคร่ำมาตรวจวิเคราะห์ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแท้งประมาณ 0.1-0.3% และอาจทำให้ทารกหรือคุณแม่ได้รับความเสี่ยงจากการติดเชื้อ การคลอดก่อนกำหนด และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนค่ะว่า การเจาะน้ำคร่ำ เป็นการตรวจวินิจฉัยที่ใช้ในการยืนยันผลการตรวจคัดกรองในกรณีที่ผลคัดกรองออกมาเป็นบวก หรือพบความเสี่ยงสูงนั่นเองค่ะ อีกทั้งยังเป็นการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของยีนที่การตรวจคัดกรองไม่สามารถตรวจได้เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เป็นต้น ซึ่งการตรวจวินิจฉัยก็ยังมีอีก 1 วิธี นั่นก็คือการเก็บชิ้นส่วนรกไปตรวจ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแท้งเช่นกัน โดยแต่ละวิธีนั้นย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันค่ะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร: 061-391-8999
#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS