Article

บทความ

5 Checklist ที่เราอยากบอก เมื่อคุณแม่วางแผนตรวจดาวน์ซินโดรมด้วย NIPT


อย่างที่เราทราบกันดีว่า การตรวจดาวน์ซินโดรมในปัจจุบันนั้นสามารถตรวจได้ด้วย NIPT ที่มีความแม่นยำสูง มีความปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงต่อการแท้งหรือกระทบการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

 NIPT จึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการตรวจดาวน์ซินโดรมและตรวจคัดกรองหาความผิดปกติโครโมโซมของคุณแม่ทุกช่วงอายุ อีกทั้งยังได้รับการแนะนำจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้ แก่คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่าน เราจึงมาบอก 5 เช็คลิสต์ นี้ให้กับคุณแม่ที่วางแผนตรวจ NIPT ได้ทราบ

 

1. เช็คกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่ตนเองซื้อไว้

 

NIPT เป็นการตรวจคัดกรองที่มีความแม่นยำสูงและมีความปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการแท้ง แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราพูดถึงค่าใช้จ่ายนั้นเราเข้าใจว่าการตรวจ NIPT มีค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับคุณแม่หลายคน สำหรับคุณแม่หลายคนได้เตรียมวางแผนค่าใช้จ่ายนี้เอาไว้แล้ว แต่ก็ยังมีคุณแม่หลายคนที่ยังไม่ทราบ การมีประกันสุขภาพที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระเรื่องค่าใช้จ่ายนี้เป็นสิ่งที่คุณแม่วางแผนได้ เพราะในปัจจุบันมีประกันสุขภาพฉบับที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการตรวจ NIPT จึงช่วยลดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายของคุณแม่ออกไปได้ค่ะ

 

2. เริ่มต้นกับคุณหมอและที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์

 

เราเข้าใจว่า NIPT เป็นการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติให้กับทารกในครรภ์ที่ยังเป็นเรื่องใหม่ของคุณแม่หลายคน ยังคุณแม่จำนวนมากที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจนี้ รวมถึงคุณแม่ที่ยังไม่รู้จัก NIPT การคุยกับคุณหมอผู้ดูแลครรภ์ของตนเอง คุณหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์ จะช่วยให้คุณแม่สามารถมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจ NIPT ตลอดจนสามารถเลือกแพ็คเกจที่เหมาะสมให้กับตนเองได้ 

 

3. เตรียมความรู้เกี่ยวกับผลตรวจที่จะได้รับ

 

สำหรับผลตรวจ NIPT นั้นไม่ได้เป็นการยืนยันว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติของโครโมโซม แต่เป็นการรายงานผลความเสี่ยงความผิดปกติของโครโมโซม โดยจะรายงานออกมาเป็น ความเสี่ยงต่ำ (Low risk) ความเสี่ยงสูง (High risk) และ ไม่สามารถรายงานผลได้ (No-call result) นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดผลลวง (False result) ที่ไม่ได้รายงานผลตามความเป็นจริง ฉะนั้นเราจึงสนับสนุนให้คุณแม่มีความรู้เกี่ยวกับผลตรวจที่จะได้รับ เพื่อวางแผนรับมือในแต่ละสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

 

4. เลือกผู้ให้บริการตรวจ NIPT ที่มีมาตรฐานระดับสูง

 

สิ่งที่คุณแม่หลายคนมองข้ามนั่นก็คือ มาตรฐานของการตรวจ เทคโนโลยีที่นำมาใช้ การมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นผู้ดูแลห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อผลตรวจที่คุณแม่จะได้รับ หากผู้ให้บริการมีมาตรฐานและเทคโนโลยีระดับสูงก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตรวจพบความผิดปกติให้แก่คุณแม่ที่มีข้อจำกัดได้มากขึ้น และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางยังสามารถช่วยวางแผนรองรับความเสี่ยงผลตรวจที่อาจคลาดเคลื่อนให้กับคุณแม่ได้

 

5. เข้าตรวจในช่วงอายุครรภ์ 10 สัปดาห์

โดยทั่วไปคุณแม่จะได้รับการแนะนำให้เข้ารับการตรวจ NIPT ในช่วงที่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป เมื่อคุณแม่มีอายุครบ 10 สัปดาห์จึงควรเข้ารับการตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ปล่อยให้อายุครรภ์มากเกินไป เพราะในการตรวจจำเป็นต้องมีระยะเวลารอคอยรับผลตรวจ หากพบว่าทารกในครรภ์มีความเสี่ยงสูงก็จำเป็นต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลความผิดปกตินั้น ซึ่งหากคุณไม่เข้ารับการตรวจในช่วงที่อายุครรภ์มากก็จะทำให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลครรภ์ของตนเองได้ยากขึ้น 

 

เมื่อคุณแม่ทราบแล้ว อย่าลืม 5 เช็คลิสต์ นี้ไปไว้ในแผนการตรวจ NIPT ของตัวเองเพื่อเลือกแพ็กเกจที่เหมาะสมกับตนเอง และหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้การตรวจ NIPT เป็นตัวช่วยลดความกังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ และ NGG Thailand เรายินดีให้คำปรึกษาด้วยที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์ในการตอบข้อสงสัยให้กับคุณแม่ทุกท่านค่ะ

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

LINE ID: @nggthailand

โทร: 061-391-8999

Website: https://www.nggthailand.com

 

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

LINE
FACEBOOK
TWITTER