Call now ( Tel :
061-391-8999
)
TH
|
EN
Home
About us
For patients
Our services
Articles
FAQs
Service provide list
For providers
Reproductive Genetic Services
News and promotions
Contact us
Home
About us
For patients
Our services
Articles
FAQs
Service provide list
For providers
Reproductive Genetic Services
News and promotions
Contact us
Call now ( Tel :
061-391-8999
)
TH
|
EN
Article
บทความ
Home
For patients
Articles
5 เรื่อง ที่ต้องเตรียมตัว เมื่อคุณแม่วางแผนตั้งครรภ์ทารกที่มีภาวะ "ดาวน์ซินโดรม"
5 เรื่อง ที่ต้องเตรียมตัว เมื่อคุณแม่วางแผนตั้งครรภ์ทารกที่มีภาวะ "ดาวน์ซินโดรม"
หลังจากทราบผลการตรวจ NIPT หรือการตรวจคัดกรองความเสี่ยงหาความผิดปกติของโครโมโซมแล้ว เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ทารกที่มีภาวะดาวน์ซินโดรม และเลือกวางแผนตั้งครรภ์ต่อไป ก็มีสิ่งที่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมอยู่หลายอย่างค่ะ โดยการเตรียมความพร้อมนี้เป็นสิ่งที่คุณแม่และคุณพ่อสามารถสร้างไปได้พร้อมๆ กัน
1. เตรียมการดูแลสุขภาพ
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ทารกที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมนั้นจะมีสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรง และมีความเสี่ยงกับความผิดปกติของอวัยวะของร่างกาย เช่น การมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ ต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่คุณพ่อและคุณแม่จำเป็นต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาสุขภาพของเด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญค่ะ
2. เตรียมความพร้อมด้านการเงิน
การวางแผนมีบุตรทั่วไปนั้น ควรมีการวางแผนด้านการเงินประกอบด้วยอยู่แล้ว แต่สำหรับการเลี้ยงดูเด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมนี้ คุณพ่อคุณแม่เองจำเป็นต้องมีการวางแผนด้านการเงินสำรองเอาไว้หลายแผน เพราะอาจเกิดเหตุไม่คาดคิด หรือปัญหาที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้าในระหว่างการเลี้ยงดูเด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมได้เสมอ
3. เตรียมความพร้อมด้านจิตใจ
เพราะเด็กๆที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมอาจมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป อีกทั้งยังมีภาวะความเสี่ยงต่างๆ ของร่างกาย รวมไปถึงปัญหาทางด้าน จิตใจ อารมณ์ ที่อาจแปรปรวนง่าย คุณพ่อคุณแม่เองจำเป็นต้องทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมด้านจิตใจให้กับตนเองและพร้อมที่จะดูแลจิตใจของเด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมด้วยเช่นกันค่ะ
4. เตรียมความพร้อมด้านสังคม
เด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมนั้นจะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป ซึ่งอาจดูเป็นเรื่องที่ยากสำหรับการเข้าสังคม โดยจำเป็นต้องบอกกล่าวคนรอบข้างให้เข้าใจถึงสภาวะของเด็กที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมในการเลี้ยงดูของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการอธิบายและใช้ความใจเย็นของคุณพ่อคุณแม่เพื่อสร้างความเข้าใจนั่นเองค่ะ
5. เตรียมความพร้อมวางแผนชีวิตระยะยาวให้ลูก
เด็กๆ ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมนั้นอาจมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกับเด็กๆ ทั่วไปเล็กน้อย โดยคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสถานศึกษา การวางแผนการทำงาน การวางแผนทางด้านการเงิน และอื่นๆ ให้กับลูกเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมร่วมกันและให้การแนะนำลูกด้วยเช่นกันค่ะ
และ NGG Thailand เราเชื่อว่าการเตรียมความพร้อมเพื่อวางแผนก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่รากฐานที่ดีของการสร้างครอบครัว โดยการตรวจ Qualifi และ Qualifi Premium 24 ของ NGG Thailand ที่เป็นการตรวจ NIPT นี้เป็นการช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถวางแผนการตั้งครรภ์และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ล่วงหน้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
LINE ID: @nggthailand
โทร: 061-391-8999
Website: https://www.nggthailand.com
#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS
บทความอื่นๆ
ความแม่นยำของเทคโนโลยี PGTSeq-A
อัตราการได้รับตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติ และ ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ จากการตรวจ PGTSeq-A
ทำไม PGTSeq-A จึงมีความแม่นยำสูงกว่าการตรวจคัดกรองโครโมโซมให้กับตัวอ่อนก่อนย้ายสู่โพรงมดลูกประเภทอื่น