Article

บทความ

พ่อหรือแม่ "เป็นโรคพันธุกรรม" ลูกจะมีโอกาสผิดปกติ 100% หรือไม่?



โรคทางพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดจากคุณพ่อหรือคุณแม่และส่งต่อความผิดปกติไปสู่ลูกนั้น มีหลายประเภทด้วยกัน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ “โรคยีนเด่นที่อยู่บนโครโมโซมร่างกาย (Autosomal dominant)” กันค่ะ

 

โรคยีนเด่นที่อยู่บนโครโมโซมร่างกาย เช่น โรคท้าวแสนปม (Neurofibromatosis) โรคถุงน้ำในไต (Polycystic kidney disease) เป็นต้น เกิดจากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง มียีนที่มีความผิดปกติของพันธุกรรมเพียง 1 ยีน และส่งต่อยีนผิดปกตินี้ไปสู่ทารกและทำให้ทารกเกิดโรคพันธุกรรมขึ้นได้ โดยทารกในครรภ์จะมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้ 

• ทารกในครรภ์มีโอกาส 50% ที่ “มี” ภาวะผิดปกติ 
• ทารกในครรภ์มีโอกาส 50% ที่ “ไม่มี” ภาวะผิดปกติ
• ไม่ว่าทารกจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชายก็มีความเสี่ยงเท่ากัน 

ฉะนั้น หากคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ได้รับการวินิจฉัยจากคุณหมอว่าเป็นโรคยีนเด่น ควรเข้ารับการปรึกษากับคุณหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญทางพันธุศาสตร์ ในการวางแผนการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมสู่ทารกในครรภ์ค่ะ

 

ที่ NGG Thailand มีบริการ Karyomapping ที่คัดกรองโรคพันธุกรรมในตัวอ่อน สำหรับคู่สมรสที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางพันธุกรรม เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีความเสี่ยงต่ำใส่กลับสู่โพรงมดลูก โดย NGG Thailand ให้บริการการตรวจ Karyomapping นี้แก่คลินิกรักษาผู้มีบุตรยากหลายแห่งทั่วประเทศไทยค่ะ

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

LINE ID: @nggthailand

โทร: 061-391-8999

Website: https://www.nggthailand.com

 

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

 

LINE
FACEBOOK
TWITTER